top of page
ค้นหา

กลิ่นปากเด็ก บอกอะไรได้บ้าง

อัปเดตเมื่อ 27 ก.ย. 2564

ตามปกติแล้ว ช่องปากของเด็กจะต้องมีกลิ่นหอม แบบที่คุณพ่อคุณแม่ สามารถดมได้อย่างสบายใจ เนื่องจากเด็กนั้นยังไม่ได้กินอาหารหลากหลายชนิดเหมือนกับผู้ใหญ่ รวมถึงเชื้อในช่องปากของเด็กที่มักจะมีปริมาณน้อยและไม่รุนแรง ทำให้กลิ่นที่ออกมาจากปากของเด็กนั้น “หอมชื่นใจ” แล้วหากลูกเรามีกลิ่นปาก กลิ่นปากเด็ก บอกอะไรได้บ้าง


การให้ลูกแปรงฟันก่อนเข้านอน เป็นการปลูกฝังให้พวกเขารักษาสุขอนามัยในช่องปาก การแปรงฟันวันละสองครั้งไม่เพียงดีต่อฟันที่กำลังงอก แต่ยังเพียงพอต่อการยับยั้งไม่ให้เกิดกลิ่นปากด้วย กลิ่นปากอาจจะไม่ได้เป็นแค่ปัญหาสุขภาพปากอย่างเดียวเท่านั้น เพราะบางครั้งอาจเกิดจากสาเหตุอื่นแล้ว กลิ่นปากเด็ก บอกอะไรได้บ้าง ซึ่งทำให้คุณต้องหาวิธีรักษาที่แตกต่างออกไป


โพรงจมูกติดเชื้อ

พักนี้ ลูกของคุณบ่นว่าเจ็บคอ หรือคัดจมูกบ้าง หรือเปล่า ถ้าเป็นแบบนั้น แสดงว่าโพรงจมูกของลูกติดเชื้อ เมื่อโพรงจมูกมีปัญหา จะทำให้ของเหลวสะสมอยู่ในบริเวณทางเดินหายใจ และลำคอ ทำให้ลำคอของลูกน้อยเป็นแหล่งเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ผลลัพธ์คือ การแปรงฟัน และบ้วนปากเพียงอย่างเดียวจะไม่ทำให้กลิ่นปากของลูกหายไปได้ หากคุณสงสัยว่าโพรงจมูกของลูกติดเชื้อ (อาจจะเจ็บคอ แสบร้อนในระบบทางเดินหายใจ และมีน้ำมูกไหล) ให้นัดพบแพทย์เพื่อแพทย์

วัตถุแปลกปลอม

คุณอาจจะนึกไม่ถึง แต่กลิ่นปากของลูกอาจเกิด จากของบางอย่างเข้าไปขัดขวางทางเดินหายใจ เด็ก ๆ มีนิสัยช่างสงสัย และอาจจะสอดวัตถุชิ้นเล็ก ๆ เช่น ลูกปัด ถั่ว อุปกรณ์เสริมที่มาพร้อมกับของเล่น และอาหารเข้าไปในรูจมูก กุมารแพทย์ ดร. วิลเลียมส์ เซียรส์ อธิบายว่า เมื่อวัตถุแปลกปลอมเข้าไปติดอยู่ในโพรงจมูกของเด็ก ก็อาจทำให้ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นได้ หากคุณสงสัยว่านี่คือสาเหตุที่ทำให้ลูกมีกลิ่นปาก ให้คุณพาลูกไปหาหมอเพื่อตรวจทางเดินหายใจ และนำสิ่งแปลกปลอมออกไป

ต่อมทอนซิลบวม

ลองเอาไฟฉายมาส่องดูต่อมทอนซิลในช่องปากของลูกแล้วสังเกตลักษณะ ต่อมทอนซิลที่สุขภาพดีจะมีสีชมพู ไม่มีจุดใด ๆ แต่ถ้าติดเชื้อจะอักเสบ แดง มีจุดขาว และกลิ่นเหม็น แบคทีเรียจะเข้าไปสะสมอยู่ภายในหลุมบนต่อมทอนซิลที่กำลังบวม เมื่อประกอบเข้ากับกลิ่นเปรี้ยวจากการติดเชื้อ ก็อาจทำให้เกิดกลิ่นปากขึ้นมาได้ หากต่อมทอนซิลของลูกบวมแดง

ปากแห้ง

เด็ก ๆ มักไม่อยู่นิ่ง และชอบวิ่งเล่น จึงมักจะลืมดื่มน้ำเสมอ กลิ่นปากในเด็กที่เล่นกีฬาจึงมักเกิดจากการดื่มน้ำไม่พอ หากลูกของคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ช่องปากจะผลิตน้ำลายมาชะล้างแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่นปากได้น้อยลง ปัญหานี้อาจดูเหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่หากมีน้ำลายไม่พอ อาจส่งผลให้ฟันผุ และเป็นโรคปริทันต์ได้ ดังนั้น คุณจึงควรดูแลให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

ปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก: ฟันผุและโรคเหงือก

แม้ว่าจะแปรงฟัน และรักษาสุขอนามัยในช่องปากอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็จะไม่สามารถกำจัดกลิ่นปากที่เกิดจากฟันผุ และการติดเชื้อในช่องปากแบบอื่นได้ ฟันผุ โรคเหงือก หรือแม้แต่แผลในปาก ล้วนทำให้ปากมีกลิ่นเหม็น ยาสีฟันสำหรับเด็กอย่าง จะช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านี้ลุกลาม อย่างไรก็ตาม การแปรงฟันไม่ได้ช่วยรักษาฟันผุ หากลูกของคุณมีฟันผุ แสดงว่าถึงเวลาพาพวกเขาไปหาหมอฟันแล้ว

อย่าด่วนสรุปเอาว่าลูกมีกลิ่นปากเพราะไม่ยอมทำภารกิจที่สำคัญที่สุดก่อนเข้านอนอย่างการแปรงฟันเด็ดขาด เพราะถึงแม้ว่าจะแปรงฟันอย่างดีแล้ว แต่กลิ่นปากที่เกิดจากสาเหตุอื่น ก็อาจทำให้การเล่านิทานก่อนนอนไม่สนุกเหมือนเคย ดังนั้น ให้คุณลองค้นหาข้อมูลและหาสาเหตุ แล้วแก้ไขอย่างเหมาะสม

สาเหตุที่ทำให้ “ลูกมีกลิ่นปาก” มาจากอะไร?

ถ้าเกิดเหตุการณ์ “ลูกมีกลิ่นปาก” ขึ้นมา ถึงแม้จะให้ไปแปรงฟันก็แล้ว ให้ไปบ้วนน้ำยาบ้วนปากก็แล้ว กลิ่นปาก ก็ยังไม่ดีขึ้น สาเหตุของการมี กลิ่นปาก มักจะมาจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ฟันผุ – เป็นสาเหตุลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิด กลิ่นปาก เนื่องจากฟันผุนั้น คือสภาวะที่เนื้อฟันเกิดการเปลี่ยนสภาพไป มีการสะสมของเศษอาหาร (ที่บางครั้งก็บูดเน่า อึ๋ยยยยย >_<) รวมถึงบางกรณีที่ผุมากจนเป็นหนอง ทำให้ช่องปากของเด็กส่งกลิ่นแปลก ๆ ออกมาได้

  2. เหงือกอักเสบ – กลิ่นที่เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ (ชื่อเล่นว่า ขี้ฟัน) ก็สามารถทำให้เกิด กลิ่นปาก ได้ ยิ่งถ้าหากมีการสะสมของคราบหนา ๆ จนกลายเป็นหินปูน กลิ่นก็จะยิ่งทวีคูณเพิ่มขึ้นมาอีก ในบางครั้ง จะเห็นมีคราบสีส้ม ๆ เกาะที่ตัวฟัน และมีกลิ่นเหม็นมาก นั่นก็เพราะว่าคราบสีส้มดังกล่าว เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรียที่สามารถผลิตก๊าซไข่เน่าได้นั่นเอง

  3. ภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย – บางครั้งเด็กที่ดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้ผลิตน้ำลายออกมาได้น้อยลง รวมถึงน้ำลายก็จะมีลักษณะเหนียวข้น ไม่สามารถชะล้างคราบ หรือเชื้อโรคที่ตกค้างอยู่ในช่องปากได้ ในบางกรณี การกินยาบางชนิด ก็อาจทำให้การผลิตน้ำลายลดลง ทำให้มี กลิ่นปาก ได้ค่ะ

  4. ภาวะกรดไหลย้อน – สามารถทำให้เกิด กลิ่นปาก ได้ในเด็กบางราย เนื่องจากเด็กจะมีระยะทางระหว่างกระเพาะอาหารกับช่องปากสั้นกว่าผู้ใหญ่ รวมถึงการทำงานของหูรูดกระเพาะอาหารอาจยังไม่สมบูรณ์ 100% (เด็กมักจะอ้วกได้ง่ายกว่าในผู้ใหญ่) ทำให้กลิ่นอาหารย้อนกลับมาเป็นกลิ่นบูดๆในปากได้

  5. ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์อักเสบ – ต่อมทั้งสองเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณภายในช่องคอ และบริเวณโพรงจมูก ปกติแล้วจะทำหน้าที่ดักจับ และกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าหากตัวต่อมนั้นเกิดการอักเสบ และมีการติดเชื้อเองแล้ว ก็จะทำให้เกิด กลิ่นปาก ในเด็กได้เช่นกัน




ดังนั้น ถ้าหากเด็กเกิดภาวะมี “กลิ่นปาก” ขึ้นมา ก็ควรจะพาลูกน้อย ไปปรึกษากับคุณหมอฟันเด็ก เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาที่ต้นเหตุ กลิ่นลมหายใจของลูกน้อยจะได้กลับมาหอมชื่นใจคุณพ่อคุณแม่อีกครั้งค่ะ


สรุปว่า กลิ่นปากเกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ การรักษา คือการแก้ไขสาเหตุเหล่านั้นประกอบกับการปรับพฤติกรรมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในช่องปาก ที่สำคัญที่สุด คือ

  • อย่าปล่อยให้ปากแห้ง เพราะเมื่อปากแห้ง แบคทีเรียในปากจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดกลิ่นปากได้

  • การดื่มน้ำจะช่วยขจัดแบคทีเรีย และช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในช่องปาก ช่วยขจัดคราบบนลิ้น และเสมหะในลำคอ ตลอดจนเศษอาหารที่ติดอยู่ตามร่องทอนซิล และทำให้มีน้ำลายเพิ่มขึ้น

  • ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร

  • ควรแปรงด้านบนของลิ้นด้วย เพราะเป็นที่สะสมของแบคทีเรีย

  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ในช่องปากให้เหมาะสม ไม่ทำให้ปากแห้ง

  • ใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 ครั้งก่อนนอน

  • ถ้าไม่สะดวกจะแปรงฟัน ให้กินผลไม้รสเปรี้ยวหลังอาหารก็จะสามารถลดกลิ่นปากได้บ้าง

  • พยายามงดอาหารกลิ่นแรง เช่น กระเทียม กะปิ หอมใหญ่ เครื่องเทศ และเนยแข็ง

  • กินผักผลไม้ให้ได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารทั้งหมด

  • ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคกลุ่มนี้

ที่สำคัญคือ การทำจิตใจให้ผ่องใส เพราะความเครียดจะทำให้น้ำลายลดลง และตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ไม่มีกลิ่นปากมารบกวนใจแล้วค่ะ


ลูกมีกลิ่นปาก ดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างไรดี? แน่นอนว่าในฐานะพ่อแม่ก็คงไม่อยากให้ลูกมีปัญหาทางสุขภาพกันอยู่แล้ว ยิ่งกับเรื่องสุขอนามัยช่องปาก หากลูกมีกลิ่นปากกันตั้งแต่ยังเล็กๆ คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ และอย่างที่คุณหมอได้อธิบายไปข้างต้นแล้วว่า การเกิดกลิ่นปากขึ้นในเด็กนั้น สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยที่พ่อแม่เองต้องหมั่นสังเกตเวลาทำความสะอาดแปรงฟันพร้อมกันกับลูก ที่หากแปรงฟันแล้วปากลูกยังมีกลิ่นอยู่ แนะนำให้พาลูกไปตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดเพราะอะไร และจะได้รักษาให้ตรงจุดนั่นเองค่ะดังนั้นเรามาเริ่มดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และฟันให้ลูกตั้งแต่วันนี้ ที่เริ่มจาก

  • เด็กแรกเกิดเพิ่งคลอด

ลูกตั้งแต่แรกคลอด ยังไม่ได้ทานอาหารอื่น นอกเหนือจากนมแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งคุณแม่อาจคิดว่าให้ลูกกินนมแล้วก็ไม่เห็นต้องทำความสะอาดปากลูกก็ได้ อันนี้ไม่ถูกต้องนะคะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้เอานมให้ลูกกินเพื่อล้างปากหลังกินนมอิ่ม เพราะลูกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว น้ำไม่ต้องค่ะสำหรับการทำความสะอาด คือให้ใช้ผ้าเช็ดสันเหงือก กระพุ้งแก้ม ลิ้นของลูก ที่ทำเช่นนี้ ก็เพื่อให้ช่องปากของลูกสะอาด และเป็นการฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับการทำความสะอาดช่องปาก และฟันนั่นเองค่ะ



เริ่มแปรงฟันให้ลูกตอนไหนดี?

การเริ่มแปรงฟันให้กับลูกมีวิธีการจำง่าย ๆ ให้พ่อแม่มือใหม่ นั่นคือให้เริ่มแปรงลูกตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น ซึ่งฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นซี่แรกตอนอายุ 6 เดือน แต่ในเด็กบางคน อาจขึ้นช้าไปจนอายุ 1 ขวบเลยก็มีค่ะคุณแม่มีคำถามว่า แล้วต้องแปรงกับยาสีฟันเด็กเลยหรือเปล่า จริง ๆ ยังไม่ต้องใช้ยาสีฟันค่ะ เพียงเลือกแปรงที่มีขนอ่อนนม หรือแปรงสีฟันยางก็ได้ (สามารถสอบถามจากทันตแพทย์เด็ก) จากนั้นก็ใช้แปรงกับน้ำสะอาดแปรงฟันให้ลูกก็พอค่ะ

  • แล้วควรใช้ยาสีฟันเด็กแปรงฟันให้ลูกตอนไหน?

ต่อให้เป็นยาสีฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ไม่แน่หากลูกแปรงฟันแล้วกลืนลงคอ ลงท้องไป ฉะนั้นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ลูกใช้ยาสีฟันแปรงฟัน คือคุณแม่ต้องแน่ใจดีแล้วว่าลูกสามารถบ้วนปาก บ้วนยาสีฟันออกมาเป็น ซึ่งอายุที่เหมาะสมกับการใช้ยาสีฟัน คือ ลูกอายุ 2.5 – 3 ขวบ โดยปริมาณยาสีฟันที่ใช้ ก็แค่เท่าเมล็ดถั่วเขียวพอค่ะ ช่วยลูกแปรงฟันให้สะอาด แล้วบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ รอบ เพื่อให้แน่ใจว่าล้างยาสีฟันออกมาหมด และช่องปากก็สะอาดดีแล้ว ลูกมีกลิ่นปาก พ่อแม่อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะปัญหากลิ่นปากของลูก อาจนำมาซึ่งโรคร้ายแรงได้ ฉะนั้นจะดีที่สุดหากเริ่มต้นดูแลรักษาความสะอาดช่องปาก และฟันให้ลูกตั้งแต่แรกเกิด และควรพาลูกไปหาหมอฟันเด็กตั้งแต่ที่ลูกยังเป็นเด็กเล็ก ๆ ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพเหงือก และฟันกันด้วยนะคะ …ด้วยความใส่ใจ และห่วงใย

ที่มา : smiledc , colgate , brushmeeveryday

ดู 290 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page